ภาวะเบาหวานเป็นพิษในแมว

คำว่า “ketoacidosis” หมายถึง การมีระดับความเป็นกรดสูงในกระแสเลือดเนื่องมาจากการมี “ketone bodies” ส่วนภาวะ diabetes คือการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลได้อย่างเพียงพอทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น ในกรณีที่เบาหวานเป็นพิษจะเกิดตามมาหลังจากการเป็นเบาหวาน ซึ่งจัดว่าเป็นสภาวะที่ฉุกเฉินที่จะต้องได้รับการรักษาโดยทันทีเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต สภาวะนี้มักพบว่าเกิดกับแมวอายุมาก และแมวเพศเมียจะมีแนวโน้มในการเป็นภาวะนี้มากกว่าเพศผู้

อาการ

  • อาเจียน
  • อ่อนแรง
  • ซึม
  • ไม่อยากอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • กล้ามเนื้อฝ่อ
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะมาก
  • ขนหยาบ
  • หายใจเร็ว
  • แห้งน้ำ
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ
  • มีรังแค
  • มีกลิ่นปาก
  • ดีซ่านที่บริเวณผิวหนัง เหงือก และตา

สาเหตุ

แม้ว่าภาวะเบาหวานเป็นพิษนั้นจะเกิดขึ้นมาจากเบาหวาน หรือปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ความเครียด การผ่าตัด การติดเชื้อที่ผิวหนัง ระบบหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ หรือโรคหัวใจวาย ไตวาย หอบหืด และมะเร็งก็สามารถโน้มนำให้เกิดได้

การวินิจฉัย

คุณเจ้าของควรจะทำการเล่าถึงประวัติสุขภาพของสัตว์ให้แก่สัตวแพทย์ทราบ ตั้งแต่ระยะเวลาที่เริ่มแสดงอาการ ต่อมาสัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายสัตว์ และทำการเก็บตัวอย่างเลือดมาเพื่อตรวจทางชีวเคมี และ การนับเม็ดเลือด โดยผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ และถ้าหากว่ามีการติดเชื้อจะพบปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ หรืออาจพบระดับเอนไซม์ตับสูง ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีการสะสมของเสียยูเรียอยู่ในเลือดสูงที่ขับออกทางปัสสาวะ มีระดับโซเดียมโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ

การตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจปัสสาวะอาจพบว่ามีระดับน้ำตาลในปัสสาวะสูง และอาจพบคีโตน บอดี้ในปัสสาวะ

การรักษา

ถ้าหากแมวมีการตื่นตัวที่ดีและไม่แห้งน้ำจะไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ถ้าไม่อย่างนั้นแมวจะต้องได้รับสารน้ำและอิเล็คโทรไลท์โดยทันที โดยเฉพาะในรายที่มีการอาเจียนหรืออ่อนแรง สัตวแพทย์จะเริ่มทำการรักษาด้วยอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลและคีโตน บอดี้ในกระแสเลือด รวมถึงลดระดับความเป็นกรดในกระแสเลือดอีกด้วย นอกจากนี้จะต้องทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุกๆ 1-3 ชั่วโมงเพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษา อีกหนึ่งสิ่งที่น่ากลัวคือการมีระดับโพแทสเซียมที่ต่ำกว่าปกติซึ่งอาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องได้รับสารเสริมโพแทสเซียม

การจัดการและความเป็นอยู่

การพยากรณ์โรคในระยะยาวค่อนข้างที่จะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี คุณควรที่จะเฝ้าดูแลแมวอย่างดีในช่วงที่รักษาและช่วงฟื้นตัว ควรเฝ้าระวังอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลด อาเจียน ดีซ่าน และรีบทำการแจ้งสัตวแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการเกิดขึ้นซ้ำ

ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ในเรื่องของปริมาณและเวลาในการมห้อินซูลินและห้ามทำการหยุดให้ยาก่อนที่สัตวแพทย์จะสั่ง โดยสัตวแพทย์จะให้คำแนะนำถึงการใช้อินซูลินที่ถูกต้อง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co

บทความที่เกี่ยวข้อง โรคเบาหวาน , ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ