ภาวะท้องผูก – ท้องเสีย

ดูแลยังไง ให้น้องแมวห่างไกลท้องผูก!

เอ….ทำไมน้องเหมียวเราเข้าห้องน้ำนานจัง ถ้าพบว่าน้องเหมียวของเราเข้าห้องน้ำ แล้วทำท่าเบ่งอยู่นานแต่ก็ไม่มีอึออกมาซักที คุณเจ้าของอาจต้องพึงระวังไว้เลยเพราะว่าน้องแมวอาจเริ่มมีภาวะท้องผูกแล้ว ซึ่งปกติน้องแมวมักจะท้องผูกได้ง่ายอยู่แล้ว ด้วยธรรมชาติที่เป็นสัตว์กินเนื้อ และกินน้ำน้อยมากๆ แต่เหล่าเจ้าของไม่ควรละเลยปัญหานี้ เพราะท้องผูกเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด โดยเฉพาะถ้าน้องแมวท้องผูกนานๆ หลายๆ วัน หรือท้องผูกบ่อยๆ อาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่จนถึงขั้นต้องผ่าตัดลำไส้ได้ ดังนั้นเรามารู้จักเรื่องท้องผูกกันให้มากขึ้นดีกว่า จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องใหญ่กับเหมียวของเรา

♥ ไม่อึแค่ไหนถึงเรียกว่าท้องผูก : โดยปกติน้องแมวควรถ่ายวันละ 1 ครั้ง หรือวันเว้นวันก็ยังถือว่าปกติ แต่ถ้า 2 วันผ่านไปแล้วน้องแมวก็ยังไม่อึ แสดงว่าอาจจะเริ่มมีอาการท้องผูกบ้างแล้ว และถ้านานถึง 3 วัน คุณเจ้าของควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อหาทางช่วยเหลือ ซึ่งอาการของน้องแมวท้องผูก นอกจากไม่อึแล้ว เราอาจสังเกตเห็นน้องแมวเบ่งอึเป็นเวลานานแต่ไม่ออก และอาจมีเสียงร้องเจ็บปวดออกร่วมกับอาการซึม ไม่ร่าเริงด้วยก็ได้

♥ ท้องผูกเกิดจากอะไร : อาการท้องผูกในแมวเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องอาหารการกินไปจนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยแบ่งดังนี้

1. กินน้ำน้อย เมื่อกินน้ำน้อยทำให้อุจจาระแข็งตัวและขับถ่ายออกมาได้ลำบากเลยเป็นที่มาข องอาการท้องผูก
2. มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันลำไส้ ทั้งของแปลกๆ ที่แมวเผลอกินเข้าไปหรือการมีก้อนขน (hair ball) จากที่แมวเลียตัวทำความสะอาด เมื่ออัดเป็นก้อนแข็งอุดตันลำไส้ทำให้อุจจาระผ่านได้ยากขึ้น
3. อุบัติเหตุกระดูกเชิงกรานหัก การมีเนื้องอกในช่องท้องหรือกระดูกเชิงกรานหักแล้วมาเบียดลำไส้ใหญ่ทำให้ อุจจาระผ่านไม่ได้ ก็ทำให้เกิดภาวะท้องผูกอย่างที่เราคาดไม่ถึงเช่นกัน
4. อาการเจ็บข้อเข่าหรือมีบาดแผลบริเวณก้น ทำให้เมื่อน้องแมวแบ่งอึก็จะเจ็บ เมื่อเจ็บแล้วแมวก็เลยไม่อึดีกว่า เลยกลายเป็นท้องผูกตามมานั่นเอง

♥ ท้องผูกเรื้อรังอันตรายกว่าที่คิด : ถ้าน้องแมวเป็นท้องผูกเรื้อรัง เป็นเวลานานๆ จนมีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่เป็นจำนวนมาก จะส่งผลทำให้ลำไส้ใหญ่เสียความสามารถในการบีบตัวและขยายใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “Megacolon” ทำให้น้องแมวขับถ่ายเองไม่ได้ และอาจต้องได้รับการผ่าตัดต่อลำไส้ใหญ่

ดูแลง่ายๆ หมดห่วงเรื่องท้องผูก :
1.เลือกอาหารที่มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ เพื่อช่วยปรับก้อนอึให้มีคุณภาพดี เพราะใยอาหารจะช่วยปรับเวลาเคลื่อนตัวของก้อนอาหารในลำไส้ และปรับก้อนอึให้นิ่มลง จึงช่วยลดโอกาสท้องผูกได้
ซึ่งอาหารของโรยัล คานินจะคำนึงถึงใยอาหารให้น้องแมวทุกตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นน้องแมวธาตุหนัก เรายังมีสูตร Fiber Response ที่มีใยอาหารสูงจากไซเลี่ยม เหมาะกับน้องแมวที่มีภาวะท้องผูกโดยตรงอีกด้วย
2. การกินน้ำ เพราะน้ำมีผลต่อความแข็งของก้อนอึ หากกินน้ำน้อยจะทำให้อึแข็งและมีโอกาสท้องผูกได้ ดังนั้นควรกระตุ้นให้น้องกินน้ำ โดยวางชามน้ำหลายๆ จุด หรือใช้ภาชนะที่น้องแมวชอบ เช่น น้ำพุแมว ชามปากกว้าง
3. ออกกำลังกาย เพราะการขยับร่างกายจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนที่ บีบตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งไม่ควรให้น้องแมวอ้วนเกินไปเพราะยิ่งทำให้ไม่ค่อยขยับร่างกาย
4. สังเกตพฤติกรรมขับถ่ายของน้องแมว หากพบว่าน้องถ่ายแข็ง หรือ 2 วันผ่านไปยังไม่ถ่าย ควรรีบพาไปพบคุณหมอมีงานวิจัยบอกว่าแมวที่อ้วนและไม่ค่อยได้ทำอะไรเสี่ยงต่อ อาการท้องผูก ดังนั้นเพียงแค่ให้น้องแมวได้ออกกำลังกาย วิ่งเล่นบ้าง ให้อาหารที่มีไฟเบอร์ในปริมาณที่เหมาะสม อย่าให้อ้วนจนเกินไป สำหรับแมวบางตัวที่ธาตุหนักก็อาจต้องเปลี่ยนเป็นอาหารที่ช่วยเรื่องขับถ่ายอีกทาง หนึ่งด้วย แค่นี้น้องแมวก็ไม่ต้องห่วงเรื่องท้องผูกแล้ว


อาการแบบเนี้ย คือท้องเสียรึเปล่านะ??

ท้องเสีย… เป็นปัญหาที่พบได้ในน้องหมาน้องแมวเช่นกัน แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่รู้หรือไม่ว่าอาการท้องเสียในน้องหมาน้องแมวอาจเป็นเรื่องใหญ่ได้เลย โดยเฉพาะการท้องเสียหลายๆ ครั้งติดต่อกันจะทำให้น้องๆ เสียน้ำในร่างกายมากซึ่งถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นมารู้จักโรคท้องเสียกันดีกว่าว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่าท้องเสีย และน้องหมาน้องแมวท้องเสียมีอาการยังไงบ้าง

สาเหตุ : อาจเกิดจากความเครียด การเปลี่ยนอาหารฉับพลับ มีแผลในทางเดินอาหาร หรือทางเดินอาหารติดเชื้อ หากพบสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรักษา ให้ตรงจุด เนื่องจากท้องเสียทำให้เกิดการเสียน้ำอย่างรวดเร็วและอันตรายถึงชีวิตได้

1. ลักษณะอึ : มีลักษณะนิ่ม หรือเหลวเป็นน้ำ มีสีผิดปกติเช่น อึสีแดงหรือสีดำ ซึ่งแสดงถึงมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ทั้งนี้น้องหมาน้องแมวอาจถ่ายบ่อยกว่าปกติอีกด้วย
2. อาการของน้องๆ ที่ท้องเสีย : นอกจากถ่ายออกมาเป็นอุจจาระเหลวแล้ว น้องหมาน้องแมวบางตัวอาจมีอาการอาเจียน ซึม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ท้องอืด หรือปวดท้องร่วมด้วย
3. ท้องเสียเฉียบพลัน VS ท้องเสียเรื้อรัง : สัตวแพทย์จะแบ่งอาการท้องเสียออกเป็น 2 ประเภท คือ ท้องเสียเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนอาหาร มีความเครียด กินสารพิษ หรือติดเชื้ออะไรบางอย่าง จะทำให้เกิดการท้องเสียทันทีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ส่วนท้องเสียเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหรือความผิดปกติทางร่างกายต่างๆ จนส่งผลทำให้เกิดการถ่ายเหลวเรื้อรังเป็นระยะเวลานานๆ
4. ท้องเสียแล้วอย่านิ่งนอนใจ : การท้องเสียจะทำให้น้องๆ สูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายเป็นปริมาณมาก จนอาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตได้ ถ้าพบว่าน้องหมาท้องเสียไม่หยุดเป็นระยะเวลา 1 – 2 วัน ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ โดยเฉพาะถ้าในอุจจาระมีเลือดปน หรือถ่ายออกมาเหลวเป็นน้ำไหลโกรก อันนี้ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเลยจ้า

ท้องเสีย เป็นกระบวนการป้องกันของร่างกายที่พยายามจะขจัดสิ่งที่ทำให้เกิดความาระคายเคืองแก่ลำไส้ให้ออกไปจากร่างกาย พบได้บ่อยในน้องหมามากกว่าน้องแมว และเกิดได้จากหลายสาเหตุได้แก่ การให้อาหารมากเกินไป การเปลี่ยนอาหารฉับพลัน การได้รับอาหารที่ย่อยยาก มีการติดเชื้อในทางเดินอาหารจากแบคทีเรียหรือไวรัส มีพยาธิในทางเดินอาหาร เป็นต้น

เราอาจแบ่งอาการท้องเสียออกเป็น 2 แบบ คือ
– ท้องเสียฉับพลัน : มักหายจากอาการได้เอง แต่ก็ควรงดอาหารเพื่อสังเกตอาการในช่วงแรก จากนั้นเลือกให้อาหารที่มีโภชนาการสมดุล ย่อยได้ง่ายเพื่อฟื้นฟูระบบการย่อยอาหารของน้องหมาและน้องแมว
– สังเกตท้องเสียเฉียบพลัน : ลองสังเกตอึของน้องหมาน้องแมวที่ป่วย เพราะสามารถบอกความผิดปกติได้คร่าวๆ และหากพบความผิดปกติเหล่านี้ควรรีบพาไปพบคุณหมอ พร้อมบอกลักษณะของอึโดยละเอียด
⇒ พบพยาธิ : อาจพบพยาธิเป็นเส้นขาวๆ หรือเป็นข้อปล้อง ดังนั้นต้องไม่ลืมพาน้องหมาน้องแมวไปถ่ายพยาธิทุกๆ 6 เดือน หรือตามคำแนะนำของคุณหมอด้วยนะ
⇒ มีเลือดปน : อาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือเกิดแผลที่ทางเดินอาหารส่วนปลาย (ลำไส้ใหญ่) ซึ่งต้องรีบพาไปพบคุณหมอ และควรทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเป็นประจำทุกปี
⇒ ถ่ายเป็นมูก บางครั้งเป็นสีเขียว : อาการนี้เกิดได้จากการติดเชื้อบิด พบบ่อยในฤดูร้อนและฤดูฝน หากพบว่าถ่ายเป็นมูกเลือดต้องรีบพาน้องหมาน้องแมวไปพบคุณหมอทันที ดังนั้นการระวังเรื่องความสะอาดของน้ำและอาหารที่กิน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

– ท้องเสียเรื้อรัง : การท้องเสียเรื้อรังในแมวนั้น หมายถึง การอุจจาระที่มีการเปลี่ยนความถี่ ลักษณะ และปริมาณของอุจจาระเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุของการเกิดอาจมาจากลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่

⇒ อาการ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและแหล่งกำเนิด ถ้าหากว่าแหล่งกำเนิดมาจากลำไส้เล็ก อาการที่พบ ได้แก่ :

  • ปริมาณอุจจาระเปลี่ยนไป
  • น้ำหนักลด
  • มีความถี่ในการอุจจาระ
  • อุจจาระสีดำ
  • อาเจียน

⇒ อาการที่พบได้เมื่อสาเหตุมาจากลำไส้ใหญ่ ได้แก่ :

  • ปริมาณอุจจาระน้อยกว่าปกติ
  • ความถี่ในการอุจจาระผิดปกติ
  • อุจจาระมีเมือก อาเจียน

⇒ สาเหตุ ของการเกิดท้องเสียเรื้อรัง ได้แก่ :

  • ความผิดปกติของลำไส้
  • เนื้องอก
  • ปรสิต
  • การสัมผัสสารพิษ
  • ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ลำไส้ใหญ่มีขนาดสั้น
  • การแพ้อาหาร

⇒ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ :

  • การเปลี่ยนอาหาร
  • อาหารที่มีความย่อยยาก และมีปริมาณไขมันสูง

⇒ การวินิจฉัย

การซักประวัติจะขึ้นอยู่กับอาการซึ่งจะต้องทำการแยกให้ได้ว่าสาเหตุมาจากลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ สัตวแพทย์จะทำการตรวจสอบการย่อย ระบบเผาพลาญ หาพยาธิ ตรวจสอบอาหาร และการติดเชื้อ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ อุจจาระ การวิเคราะห์จากการขูดผนังลำไส้ การเอ็กซ์เรย์ และการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ การท้องเสียนั้นอาจมีสาเหตุมาจากโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ได้ ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกายผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินปกติ

ถ้าหากเป็นไปได้ สัตวแพทย์มีการส่องกล้องตรวจเพื่อหาความผิดปกติ หรือ ทำการมีการเก็บเยื้อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ร่วมกับการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ หรือถ้าหากต้องการหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ อาจจะมีการส่องกล้องตรวจ

⇒ การรักษา

วิธีการรักษานั้นค่อนข้างหลากหลายและมักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ การผ่าตัดอาจจะมีความจำเป็นถ้าหากว่าลำไส้มีการอุดตัน หรือมีก้อนเนื้อ ถ้าหากไม่สามารถทำการวินิจฉัยยืนยัน การรักษาจะเน้นไปที่การจัดการเรื่องอาหาร และในบางรายอาจร่วมกับการให้ยาป้องกันหารติดเชื้อ ภาวะแห้งน้ำนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงมากเนื่องจากมีการสูญเสียน้ำปริมาณมาก ดังนั้นสุนัขควรได้รับสารน้ำทดแทนร่วมกับการให้อิเล็คโทรไลท์

⇒ การจัดการและความเป็นอยู่

หลังจากการรักษาคุณควรที่จะเฝ้าติดตามถึงปริมาณอุจจาระและลักษณะของอุจจาระอย่างต่อเนื่องรวมถึงความถี่ในการถ่ายร่วมกับน้ำหนักตัว ซึ่งสุนัขจะอาการค่อยๆดีขึ้นและถ้าหากว่ายังไม่สามารถแก้ไขที่สาเหตุได้ ก็อาจพบอาการท้องเสียซ้ำอีกรอบได้

⇒ การป้องกัน

อาหารชนิดไขมันต่ำจะช่วยป้องกันการเกิดท้องเสียเรื้อรังได้ นอกเหนือจากเรื่องอาหารการป้องกันด้วยวิธีอื่นๆนั้นจะทำได้ยากเนื่องจากสามารถมาได้จากหลายสาเหตุ

รู้หรือไม่??
การเปลี่ยนอาหารก็อาจทำให้น้องหมาน้องแมวท้องเสียได้ จึงควรเปลี่ยนอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยผสมอาหารชนิดใหม่กับอาหารเดิม เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัว โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก fb : RoyalCaninThailand
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co